องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโป่ง
Thungpong Subdistrict Administrative Organization
ข่าวประชาสัมพันธ์
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโป่งได้รับแจ้งจากอำเภออุบลรัตน์ว่า กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งว่า เดือนเมษายน – พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ซึ่งประชาชนมีโอกาสป่วยเป็นโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันโรคฮีทสโตรก จึงขอแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบมาตรการเฝ้าระวังและผลกระทบต่อสุขภาพ จากโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโป่งได้รับแจ้งจากอำเภออุบลรัตน์ว่า กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งว่า เดือนเมษายน – พฤษภาคม ๒๕๖๖ เป็นฤดูร้อน ส่งผลให้อาหารที่เตรียมไว่รับประทานมีโอกาส บูด เสียได้ง่ายและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดภาวะโรคอุจจาระร่วง สามารถพบได้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย พบมากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กต่ำกว่า ๕ ปี ลักษณะของโรคอุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว ๓ ครั้ง/วัน หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย ๑ ครั้ง อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง จึงขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโป่งได้รับแจ้งจากอำเภออุบลรัตน์ว่า ขณะนี้มีรายงานว่าเขตอุสาหกรรมพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ได้มีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบโรงงานหลอมเหล็กและใช้เครื่องแสกนหารรังสีบริเวณ กองเศษเหล็กที่ถูกบีบอัดเป็นแท่งระหว่างรอเข้าเตาหลอม พบว่า บางบริเวณตรวจพบสารเคมี ยืนยันได้ว่าเป็นสารกัมตรังสีซีเซียม – ๑๓๗ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันสารกัมตรังสีซีเซียม – ๑๓๗ จึงขอแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันสารกัมตรังสีซีเซียม – ๑๓๗
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโป่งได้รับแจ้งจากอำเภออุบลรัตน์ว่า กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ยังคงพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๔ ราย และ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๒ ราย และยังพบผลบวกสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ก่อให้เกิดผู้เสียชีวิตปรากฏว่า เมื่อถูกสุนัขหรือแมว กัด ข่วน และไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้เสียชีวิตถูกสุนัขของตนเองกัด ข่วน ทั้งนี้ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามหลักเวชศาสต์ จึงทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเสียชีวิตในที่สุด
12 3
สอบถาม